วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC: Network Interface Card) 
       การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือเรียกว่าการ์ด LAN เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซี เข้ากับสายเคเบิล ดังนั้นจึงต้องมีพอร์ตสำหรับเสียบสายแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้ หรืออาจมีพอร์ตสำหรับสายหลายแบบก็ได้ เช่น มีพอร์ตสำหรับสายโคแอกเชียล และสำหรับสายคู่ตีเกลียว แต่สำหรับการ์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะเหลือแต่พอร์ตสำหรับสายคู่ตีเกลียวเพราะปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ยังมีการ์ดที่ทำมาสำหรับใช้ต่อกับสายใยแก้วนำแสงซึงมักจะมีราคาแพงและใช้เฉพาะบางงาน
       การ์ด LAN จะมีสล็อตที่ใช้อยู่ 2 ชนิดคือ
       ISA 8 และ 16 บิต การ์ดแบบนี้จะสามารถรับส่งข้อมูลกับเครื่องพีซีได้ทีละ 8 หรือ 16 บิตที่ความถี่ประมาณ 8 MHz เท่านั้น โดยผ่านบัสและสล็อตแบบ ISA ตัวอย่างเช่น การ์ด NE1000 และ NE2000 ที่ผลิตตามแบบของบริษัท Novell เป็นต้น ซึ่งความเร็วในการทำงานจะต่ำกว่าแบบ PCI ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่พบแล้ว
       PCI 32 บิต เป็นการ์ดที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ทีละ 32 บิตผ่านบัสแบบ PCI ด้วยความเร็วสูงถึง 33 MHz ปัจจุบันการ์ดแบบสล็อต PCI ราคาลดลงมาก
       ทรานซีฟเวอร์ (transceiver) เป็นส่วนหนึ่งของการ์ด LAN โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณที่ใช้ในเครือข่าย ทรานซีฟเวอร์รุ่นเก่า ๆ จะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลและการ์ด LAN แต่ในปัจจุบันจะนำทรานซีฟเวอร์นี้บรรจุเข้าไปในตัวการ์ด LAN เลย
       บนการ์ด LAN บางแบบจะมีที่เสียบชิปหน่วยความจำ ROM เป็นซ็อคเก็ตว่าง ๆ ทิ้งไว้ สำหรับใช้ในกรณีที่ต้องการให้เครื่องที่ใช้การ์ดนั้นสามารถบูตจากหน่วยความจำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ในระบบ LAN ได้ ซึ่งก็จะต้องมี ROM ที่มีโปรแกรมพิเศษมาใส่ในซ็อคเก็ตว่างนี้ เรียกว่าเป็น bootROM โดยโปรแกรมใน ROM ดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งแอดเดรสที่ซีพียูจะเรียกใช้ในตอนที่บูตเครื่อง เช่นเดียวกับ ROM บนเมนบอร์ดนั่นเอง เมื่อมีโปรแกรมดังกล่าวเพิ่มเข้ามา ก็จะทำให้ซีพียูไปทำการบูตเครื่องผ่านการ์ด LAN และหน่วยความจำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ แทนที่จะบูตจากหน่วยความจำของเครื่องนั้น ๆ ตามปกติ เช่น ในกรณีที่ต้องการใช้งานพีซีนั้นในลักษณะเครื่องลูกข่ายที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น



อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
        ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายจะต้องทำการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์และสื่อกลางแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งอาจมีความต้องการเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรวมข้อมูลจากหลาย ๆจุดเพื่อส่งผ่านไปยังสายเคเบิลโทรศัพท์เพียงสายเดียวหรืออาจต้องการขยายระยะทางการใช้งานรวมทั้งอาจต้องเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างเข้าด้วยกันความต้องการเหล่นี้ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเฉพาะงาน ได้แก่
              1.ฮับ(Hub)
              2.เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater)
              3.บริดจ์ (Bridge)
              4.สวิตซ์ (Switch)
              5.เร้าท์เตอร์ (Router)
              6เกทเวย์ (Gateway)
              7.โมเด็ม (Modem
ฮับ(Hub)    
   
         เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน  ด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP ( UnshieledTwisted Pair ) , หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสายและ Network adapter card ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater)
         เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลระยะทางไกลโดยทั่วไปนั้นยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่ส่งถึงกันก็จะเริ่มเพี้ยน และจางลงจนหายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อสายที่ต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีความยาวเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ก็จะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า รีพีทเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทวนสัญญาณ
คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย
 LAN ห้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิม จากนั้นจึงค่อยส่งต่อไป
บริดจ์ (Bridge)

        
         เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกันซึ่งดูแล้วคล้ายกับเป็นสะพานเชื่อมสองฟากฝั่งเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า“บริดจ์” ซึ่งแปลว่าสะพาน  เครือข่ายสองเครือข่ายที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องเป็นเครือข่ายชนิดเดียวกันและใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน
สวิตช์ (Switch)


         สวิตช์หรืออีเทอร์เน็ตสวิตช์ (EthernetSwitch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายกับฮับ ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็ว การทำงานของสวิตช์ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือนฮับโดยแต่ละช่องสัญญาณ (Port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็วเช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ100 Mbps
เร้าเตอร์(Router)
         เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่คล้ายกับบริดจ์หลักของ เร้าเตอร์ (Router)  คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นเร้าเตอร์ (Router) สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้ง ๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน
โมเด็ม(Modem)
         เป็นอุปกรณ์เครือข่ายชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารผ่านทางสายโทรศัพท์ 
เกทเวย์(Gateway)
      
         เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น

การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป


  • สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
    สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันคอ่นข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอล

    คุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว

    สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบาง
  • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair)
    สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิทต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ 

    สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
    1. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูป
    2. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก ดังรูป

  • สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)
    เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก

    สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้